
ความรู้เรื่อง เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30

การคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
1. ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ได้แสดงการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีที่ซื้อทั้งกรณีจากการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และจากการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อจำนวนที่ถูกต้องอาจเกิดจากกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตรวจสอบความผิดเองและไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรืออาจเกิดจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีต่อไป
2. การคำนวณเบี้ยปรับในกรณีการไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หรือไม่ได้จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือกรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นการคำนวณเบี้ยปรับนอกเหนือจากการคำนวณภาษีตาม 1. ซึ่งได้อธิบายวิธีการคำนวณไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวแล้ว
1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30
1.1การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีต้องชำระ
ภาษีขาย (บาท) 1,000
ภาษีซื้อ 750
ภาษีที่ต้องชำระ 250
เงินเพิ่ม มาตรา 89/1 250 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) 250 X 2 เท่า
เบี้ยปรับ ขอลดชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าปรับในอัตรา 2%
เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) 250 X 2 เท่า X 2%
1.2การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีชำระเกิน
ภาษีขาย (บาท) 1,000
ภาษีซื้อ 1,750
ภาษีที่ต้องชำระ 0
ภาษีที่ชำระไว้เกิน (750)
เงินเพิ่ม มาตรา 89/1 ไม่มี
เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) ไม่มี
การขอลดเบี้ยปรับ
- ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าปรับในอัตรา 2%
- ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าปรับในอัตรา 5%
- ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าปรับในอัตรา 10%
- ชำระหลัง 60 วันไปแล้วคิดค่าปรับในอัตรา 20%
คลิกที่ลิงค์ ดูตัวอย่างกรณีอื่นๆ ได้เลยค่ะ
https://www.rd.go.th/9880.html